วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

preal54@hotmail.com


วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555


บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องจากในชุมชนมีการเลี้ยงเป็ดไข่กันมาก เพราะช่วงนี้ก็เป็นช่วงฤดูร้อนซึ่งร้อนกว่าปกติจะทำให้ไข่เป็ดเน่าเสียเร็วผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารเอง โดยการนำไข่เป็ดมาทำเป็นไข่เค็ม แต่เนื่องจากในชุมชนและท้องตลาดมีรสชาติของไข่เค็มแบบธรรมดา  จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาไข่เค็มให้มีกลิ่นและรสชาติของใบเตยและตะไคร้
                ในการทำโครงงานไข่เค็มจากกลิ่นใบเตยและตระไคร้จึงมีแนวคิดใหม่ในการพัฒนาให้มีไข่เค็มโดยการมีกลิ่นและรสชาติของใบเตยและตระไคร้

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.             พัฒนารสชาติและกลิ่นของไข่เค็มให้มีคุณภาพมากขึ้น
2.             เพิ่มคุณค่าของไข่เค็มและสมุนไพรในท้องถิ่น
3.             ศึกษากลิ่นที่นำมาทำไข่เค็ม      

สมมุติฐาน
                ได้ไข่เค็มกลิ่นใบเตยและตระไคร้
                ตัวแปรต้น       สารสกัดจากใบเตยและตระไคร้
                ตัวแปรตาม      กลิ่นและรสชาติที่เกิดขึ้น
                ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการดองไข่    สถานที่   อุณหภูมิ   ขวด   น้ำ         

ขอบเขตการจัดทำโครงงาน
1.             ดองไข่เค็มจำนวน  10  ฟอง
2.             เวลาการดอง  3  สัปดาห์
3.             ใช้เฉพาะสารสกัดจากใบเตยและตระไคร้เท่านั้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             เป็นการยืดอายุให้กับไข่เค็ม
2.             เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ
3.             สามารถนำไข่เค็มมาทำเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว,ในชุมชนได้ลดปัญหาการว่างงานเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีหรือแนวความคิดในการจัดทำโครงงาน

                การถนอมอาหารก็คือ การรักษาอายุธรรมชาติและสีสันของอาหารซึ่งเกิดจากการปรุงอาหาร การถนอมอาหารโดยการดองเป็นการถนอมอาหารแบบหนึ่งในความเข้มข้นของเกลือ น้ำตาลควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดหลิกติคและป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่า การถนอมอาหารนี้ใช้กับผัก ผลไม้และไข่
ไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยมักจะใช้ไข่เป็ดแล้นำไปแช่ในน้ำเกลือเพื่อให้เกลือซึมเข้าไปในเนื้อของไข่ เพื่อสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น โดยการทำไข่เค็มก็สามารถใส่กลิ่นต่างลงไปได้ โดยการนำสมุนไพรที่มีกลิ่นมาบดให้ละเอียดและก็ต้มในน้ำเกลือแช่ไข่เป็ดลงในน้ำเกลือนั้นเมื่อเย็นแล้ว

เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงงาน

เราจะได้คุณประโยชน์จากไข่เป็ดเป็นแหล่งโปรตีนและเป็นอาหารจำเป็นต่อร่างกายประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น ธาติเหล็กช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ฟอสฟอรัสและแคลเซียม วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาช่วยในการมองเห็น ช่วยให้สภาพอาการมองเห็นได้ดีในที่มืดและสว่าง วิตามิน บี ช่วยบำรุงผิวแล้วก็ยังมีคาร์โบไฮเดรต ไข่มันและน้ำเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงมาก และราคาก็ถูก

ความหมายของไข่
ประโยชน์ของไข่ และ การบริโภคที่เหมาะสม "เพื่อสุขภาพที่ดี"
ประโยชน์ของไข่นั้นมีมากมายอย่างน่าอัศจรรย์เลยทีเดียวค่ะ แต่ถ้าจะได้ ประโยชน์ของไข่ อย่างสูงสุดก็ควรที่จะมีการบริโภคหรือการกินไข่ที่เหมาะสมตามวัยกันอีกด้วยค่ะ เพื่อที่จะได้รับ ประโยชน์ของไข่ อย่างเต็มที่ให้กับร่างกาย และวันนี้เราก็นำเกร็ดความรู้เรื่องประโยชน์ของไข่และการบริโภคไข่ที่เหมาะสมมาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้รับความรู้และปฏิบัติตามกันอย่างควบคู่กันไปเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ โดยปกติคนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกรับประทานไข่เป็นอาหารหลักกันอยู่แล้วไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยเท่านั้นต่างชาติหลายๆ ประเทศก็มักจะนิยมบริโภคไข่เป็นอาหารหลักด้วยกันทั้งนั้น
ประโยชน์ของไข่ 
                1. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย ฟองจะมีโปรตีนคุณภาพดี กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9ชนิด
                2. ผลจากการทำวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคไข่กับการเกิดโรคหัวใจ แถมยังมีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนเส้นเลือดอุดตันในสมองและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
                3. ไข่เป็นแหล่งโคลีนที่ดี โดยโคลีนอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีจัดเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ ฟองจะมีโคลีนมากถึง 300 ไมโครกรัม
                4. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6ฟองต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงร้อยละ 44
                5. ไข่ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มีซัลเฟอร์สูงรวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้นหลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มีซัลเฟอร์หรือวิตามินบี12 มาก่อน 
 ความหมายของใบเตย
ความหมายและประโยชน์ของใบเตย
ใบเตย หรืออีกหนึ่ง สมุนไพรใบเตย ที่คนไทยรู้จักกันดีเพราะนอกจากเราจะใช้ ใบเตย ในการประกอบอาหารหลาย ๆ อย่าง อีกทั้ง ยังให้กลิ่งหอมและทีสำคัญที่สุด สรรพคุณของใบเตย ยังมีอีกมายมายนักคุณอาจจะคิดไม่ถึง นั้นเรามามาดูสรรพคุณและ ประโยชน์ของใบเตย กันเลยดีกว่าค่ะ
สรรพคุณ และ ประโยชน์ ใบเตย

               การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทด ลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้
วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย

ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยาเตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นลดกระหายน้ำและอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง
ความหมายของตะไคร้
ความหมายและประโยชน์ของตะไคร้
ตะไคร้บ้าน ตะไคร้แกง คาหอม จะไคร้ เชิดเกรย  และไคร้ ตะไคร้แดง ตะไคร้มะขูด จะไคร้มะขูด
ชื่อสามัญ    LemonGrass, Lapine   
ชื่อวิทยาศาสตร์    Citronella citrates  
ชื่อวงศ์      Gramineae    
     ต้น 
                   เป็นไม้ล้มลุกจะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ เมตร ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง แข็ง เกลี้ยง และตามปล้อง (กาบของโคนต้น) มักมีไขปกคลุมอยู่ ความสูงวัดจากโคนถึงกาบใบ ประมาณ 30 เซนติเมตร
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นจะตั้งตรง แต่แตกออกมา เป็นกอ สูงประมาณ เมตร ที่โคน จะเป็นกาบชั้น ๆ เหมือนตะไคร้บ้าน แต่ไม่มีไขปกคลุม เหมือนตะไคร้บ้าน ความสูงวัดจากโคนต้น ถึงกาบใบประมาณ 60-75 เซนติเมตร
    ใบ
                  ใบเดี่ยว แตกออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ยาว 30-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย ส่วนด้านล่างจะเรียบ ขอบใบเรียบ มีใบยาวและกว้างกว่าตะไคร้บ้านยาวประมาณ เมตร กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นเล็กน้อย เมื่อส่องดูในที่มีแสงสว่างจะเห็นว่าขอบใบไม่เรียบ และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน

   สรรพคุณ

                  ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ และแก้อหิวาตกโรค และยังใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น รักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ 
ใบ ใบสด ๆ     ช่วยลดความดัน โลหิตสูง แก้ไข้
ราก                ใช้เป็นยาแก้ไขปวดท้องและท้องเสีย
ต้น                 ใช้เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ 
น้ำมัน             มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และมีกลิ่นไล่สนุขและแมว
ทั้งต้น            ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิตระดู

บทที่  3
วัสดุ อุปกรณ์และการทดลอง
วัสดุและอุปกรณ์
1.             ไข่เป็ด        10  ฟอง
2.             ใบเตย          กรัม
3.             ตะไคร้        1   กรัม    
4.             เกลือ           2   ถุง
5.             น้ำสะอาด   5   ลิตร
6.             ขวดโหล     2   ใบ
7.             หม้อต้ม       1  ใบ
8.             เตาไฟ          1 ใบ
9.             กะละมัง      1  ใบ
10.           เครื่องปั่น    1   เครื่อง
11.           ตรอง          1  ชิ้น
12.             มีด              1   ด้าม
13.           เขียง           1    อัน

วิธีการทดลอง
1.             ล้างไข่เป็ดให้สะอาดวางเรียงในภาชนะไว้ให้แห้ง


   
  



   2.             ล้างทำความสะอาด  ใบเตย 1 กรัม และ ตะไคร้ 1 กรัม
    3.             นำใบเตยและตะไคร้มาหั่นและมาบดให้ละเอียด
       

  4.             ตวงน้ำใบเตยและน้ำตะไคร้และเกลือตามอัตราส่วนจากนั้นนำใส่ในภาชนะที่                                            
                 เตรียมไว้
       5.            เทใส่ลงในไข่เป็ดที่วางเรียงอยู่ในภาชนะบรรจุ(ใส่โดยไม่ตรองเอากาก      
                       สมุนไพรออก)
        
       
6.             เริ่มทำการทดลองไข่เค็มของใบเตยและตะไคร้

 




   


7.             ดองไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ได้ระยะเวลา 10วัน แล้วนำมาทดลองสอบว่ามีกลิ่นบนของเปลือกไข่
8.             ดองไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ได้ระยะเวลา 15วัน แล้วนำมาทดลองสอบว่ามีกลิ่นบนของเปลือกไข่
9.             ดองไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ได้ระยะเวลา 21วัน แล้วนำมาทดลองสอบว่ามีกลิ่นบนของเปลือกไข่
10.      จากนั้นสังเกตและบันทึกผล

บทที่ 4
การผลการวิเคราะห์ทดลอง


ว/ด/ป

รายการ

ผลการวิเคราะห์
กลิ่น
รสชาติ / ความเค็ม
20  / ส.ค /2555
ใบเตย
P

ตะไคร้
P

25 /ส.ค / 2555
ใบเตย
P
P
ตะไคร้
P
P
29 /ส.ค / 2555
ใบเตย
P
P
ตะไคร้
P
P

 บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
        สรุปผล
                จากผลการทดลองพบว่า
ไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ที่ได้ทดลองผลออกมาเมื่อทดสอบแล้วกลิ่นหอม รสชาติเค็ม  ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีกลิ่นที่หอม  เนื่องมาจากกลิ่นของใบเตยและตะไคร้และได้กลิ่นรสชาติที่แตกต่างจากไข่เค็มธรรมดา
     ประโยชน์
1. สามารถแปรรูปสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
2. มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
3. ได้รับความรู้จากการทำโครงงาน ทั้งการผลิต การแปรรูป
4. เพื่อเพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรให้เพิ่มขึ้น
        ข้อเสนอแนะ
            1.   ข้อเสนอแนะในการนำผลการทดลองไปใช้
                       1.1. ผลการศึกษาพบว่า ควรจะมีการใช้วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่มากขึ้น มีการนำสมุนไพรชนิดอื่นมาใช้ทำในการทดลอง และควรพัฒนาต่อยอดของโครงงานให้สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์
                   1.2.ไข่เค็มใบเตยและตะไคร้สามารถควรที่จะนำออกไปสู่ตลาดได้เหมือนไข่เค็มอื่นๆ